ภารกิจ/อำนาจหน้าที่

ภารกิจและอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลขะเนจื้อ  เป็นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการร่วมคิด    ร่วมแก้ปัญหา    ร่วมสร้าง   ร่วมจัดทำส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในเขตพื้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นในทุกด้าน   การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลขะเนจื้อจะสมบูรณ์ได้จำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากชุมชนในพื้นที่ให้เกิดความตระหนักร่วมกันในการแก้ไขปัญหาและความเข้าใจในแนวทางแก้ไขปัญหากันอย่างจริงจัง   องค์การบริหารส่วนตำบลขะเนจื้อได้มุ่งเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาในทุกกลุ่มทุกวัยของประชาชน  นอกจากนั้นยังได้เน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน  และพัฒนาประชาชนให้พร้อมที่จะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพโดยยึดกรอบแนวทางในการจัดระเบียบการศึกษา  ส่วนด้านพัฒนาอาชีพก็มุ่งเน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในท้องถิ่นและจัดให้ตั้งกองทุนเศรษฐกิจชุมชน
                   การวิเคราะห์ภารกิจ   อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลขะเนจื้อตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.. 2537  และที่แก้ไขเพิ่มเติม  และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.. 2542  และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีภารกิจและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดังนี้
1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1)    การจัดการและดูแลสถานีขนส่งทางบกและทางน้ำ
(2)    การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นอื่น
(3)    การขนส่งมวลชนและการวินาศกรรมจราจร
(4)    การสาธารณูปการ
(5)    การจัดให้มีและการบำรุงทางน้ำและทางบก
(6)    การจัดให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
(7)    การจัดให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
(8)    การจัดให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
(9)   การจัดให้มีและการบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
ฯลฯ
2. ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1)    การจัดการศึกษา
(2)    การจัดให้มีโรงพยาบาลจังหวัด การรักษาพยาบาล การป้องกันและการควบคุม
          โรคติดต่อ
(3)    การป้องกัน การบำบัดโรค และการจัดตั้งและบำรุงสถานพยาบาล
(4)    การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชราและผู้ด้อยโอกาส
(5)    การรักษาความสะอาดของถนน ทางเดิน และที่สาธารณะ
(6)    การจัดให้มีโรงฆ่าสัตว์
(7)    การจัดให้มีสุสานและฌาปนสถาน
(8)    การจัดให้มีการบำรุงสถานที่สำหรับนักกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ สวนสาธารณะ สวนสัตว์ ตลอดจนสถานที่ประชุมอบรมราษฎร
(9)    การบำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
ฯลฯ
3. ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1)    การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และลัทธิเสรีภาพของประชาชน
(2)    การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(3)    การจัดให้ระบบรักษาความสงบเรียบร้อยในจังหวัด
(4)    การรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนในเขตสภาตำบล

ฯลฯ

4. ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชกรรมและการท่องเที่ยว มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง
      ดังนี้
(1)    การจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
(2)    การจัดตั้งและดูแลตลาดกลาง
(3)    การส่งเสริมการท่องเที่ยว
(4)    การพาณิชย์ การส่งเสริมการลงทุนและการทำกิจกรรมไม่ว่าจะดำเนินการเองหรือร่วมกับบุคคลอื่นหรือจากสหการ

ฯลฯ

5. ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจที่      
       เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1)    การคุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(2)    การจัดตั้งและการดูแลระบบบำบัดน้ำเสียรวม
(3)    การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลรวม
(4)    การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(5)    การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ

ฯลฯ

6. ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง              
     ดังนี้
(1)    การจัดการศึกษา
(2)    บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(3)    การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น
(4)    การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ
(5)    การศึกษา การทำนุบำรุงศาสนา และการส่งเสริมวัฒนธรรม

ฯลฯ

7. ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการ และองค์กร
­       ปกครองส่วนท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1)    สนับสนุนสภาตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องงถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น สนับสนุน หรือช่วยเหลือส่วนราชการหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น
(2)    ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
(3)    การแบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่สภาตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
(4)    การให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสากิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น

ฯลฯ

ภารกิจหลัก และภารกิจรองที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะดำเนินการ
          ภารกิจหลัก
                   1.  ด้านการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน
                   2.  ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต  และสงเคราะห์แก่เด็ก  สตรี  คนชราและผู้ด้อยโอกาส
                   3.  ด้านส่งเสริมการศึกษาและการกีฬา
                   4.  การส่งเสริมอาชีพแก่ผู้ว่างงาน  รวมทั้งสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน
                   5.  การแก้ไขปัญหาและป้องกันเกี่ยวกับยาเสพติด
                   6.  การจัดระเบียบชุมชน  สังคม  และการรักษาความสงบเรียบร้อย
                   7.  การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
                   8.  ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          ภารกิจรอง
                   1.  การฟื้นฟูวัฒนธรรมและส่งเสริมประเพณี
                   2.  การพัฒนาการท่องเที่ยว
                   3.  การสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพกลุ่มอาชีพ
                   4.  การส่งเสริมการเกษตรและการประกอบอาชีพทางการเกษตร
                   5.  การวางแผน  การส่งเสริมการลงทุน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น